วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556


อาณาจักรสุโขทัย

 
    
 
 
         เดิมที สุโขทัย เป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) ของอาณาจักรขอม บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้ โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเป็นคล้ายๆกับผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย จึงส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถม) เจ้าเมืองราด และ พ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ตัดสินพระทัยจะยึดดินแดนคืน การชิงเอาอำนาจจากผู้ครองเดิมคือ อาณาจักรขอมเมื่อปี พ.ศ. ๑๗๘๑ และสถาปนาเอกราช ให้กรุงสุโขทัยขึ้นเป็นรัฐอิสระ โดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด
          และพ่อขุนผาเมือง ก็กลับยกเมืองสุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาวครอง พร้อมทั้งพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงพระราชทานให้พ่อขุนผาเมืองก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า เหตุผลคือพ่อขุนผาเมืองมีพระนางสิขรเทวีพระมเหสี (ราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ซึ่งพระองค์เกรงว่าชาวสุโขทัยจะไม่ยอมรับ แต่ก็กลัวว่าทางขอมจะไม่ไว้ใจจึงมอบพระนามพระราชทาน และพระแสงขรรค์ชัยศรี ขึ้นบรมราชาภิเษก พ่อขุนผาเมืองให้เป็นกษัตริย์ เพื่อเป็นการตบตาราชสำนักขอม
          หลังจากมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี และมีพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์แล้ว พระองค์ทรงดูแลพระราชอาณาจักร และบำรุงราษฎรเป็นอย่างดี
          พระมหากษัตริย์พระองค์ที่สาม พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถทั้งในด้านนิรุกติศาสตร์ การปกครอง กฎหมาย วิศวกรรม ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นต้น ผลงานของพระองค์ที่ปรากฏให้เห็น อาทิ ศิลาจารึกที่ค้นพบในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อธิบายถึงความเป็นมา ลีลาชีวิตของชาวสุโขทัยโบราณ น้ำพระทัยของพระมหากษัตริย์ การพิพากษาอรรถคดี ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีผลงานทางวิศวกรรมชลประทาน คือ เขื่อนสรีดภงค์ที่เป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในยามแล้ง มีการทำท่อส่งน้ำจากตัวเขื่อนมาใช้ในเมือง
พระมหากษัตริย์ที่ทรงทำนุบำรุงศาสนามากที่สุดคือ พระเจ้าลิไท ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างวัดมากที่สุด  กษัตริย์พระองค์สุดท้ายในฐานะรัฐอิสระ คือ พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) ต่อจากนั้น อาณาจักรได้ถูกแบ่งส่วนออกเป็นของอาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรล้านนา จนในที่สุด อาณาจักรทั้งหมด ก็ถูกรวมศูนย์ เข้าเป็นดินแดนสวนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) แห่งอาณาจักรอยุธยา สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน
๑.การสถาปนากรุงสุโขทัย
 ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไปเป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลางและดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพลงมาถึงอ่าวไทยเป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ. ๑๗๘๐  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขุนบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลังเข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่างๆของขอมแล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  ๙  พระองค์ ดังนี้

        ๑. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาเป็นกษัตริย์ โดยมีสุโขทัยเป็นราชธานี  ประมาณ  พ.ศ.  ๑๗๘๑
        ๒. พ่อขุนบาลเมือง เป็นโอรสองค์ที่สองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สิ้นรัชกาลราวปี  พ.ศ.  ๑๘๒๐
        ๓. พ่อขุนรามคำแหง  พระนามเดิมว่าร่วง  เป็นโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ กับนางเสือง  เมื่อชนช้างชนะเจ้าเมืองฉอด  พระบิดาจึงทรงพระราชทานนามว่า  "รามคำแหง"  ทรงครองราชย์ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. ๑๘๒๒
       ๔. พ่อเจ้าเลอไทย  ครองราชย์ปี พ.ศ. ๑๘๔๓
       ๕.     พระยางั่วนำถุม  เริ่มรัชกาลเมืองใด ไม่ปรากฏชัด  แต่สิ้นรัชกาลราว  พ.ศ.  ๑๘๙๐
        ๖.   พระมหาธรรมราชาที่   (พญาลิไท) ครองราชย์ช่วง พ.ศ. ๑๘๙๐ ๑๙๑๗
        ๗.     พระมหาธรรมราชาที่    ครองราชย์ช่วง พ.ศ. ๑๙๑๗ ๑๙๔๒ ช่วง  พ.ศ. ๑๙๒๑ ได้ตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
         ๘.     พระมหาธรรมราชที่   (พระเจ้าไสยลือไท) ครองราชย์ช่วง  พ.ศ. ๑๙๔๒๑๙๖๒  ได้ย้ายราชธานี จากสุโขทัยมาพิษณุโลก
        ๙.      พระมหาธรรมราชาที่    ครองราชย์ช่วง  พ.ศ. ๑๙๖๒๑๙๘๑  เป็นกษัตริย์วงศ์สุดท้ายแห่งราชวงศ์สุโขทัย  ยุคแรกของอาณาจักรสุโขทัย  มีเมืองใหญ่ที่สุโขทัย และเมืองเชลียง และมีเมืองเล็ก ๆ  อยู่ตามลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม  น่าน  ด้านเหนือติดเมืองแพร่  ด้านใต้ติดเมืองพระบาง (คือนครสวรรค์ในปัจจุบัน)  พลเมืองไม่มากนัก
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้มีการแผ่ขยายอาณาเขตไปมากมาย
  • ทิศเหนือ   จดเขตล้านนาไทยที่ลำปาง
  • ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  จดเมืองแพร่  น่าน  พลั่ว (อำเภอปัวในจังหวัดน่าน ปัจจุบัน)  และหลวงพระบาง
  • ทิศตะวันออ  จดเมืองเวียงจันทน์และเวียงคำ
  • ทิศใต้  จดปลายแหลมมลายู
  • ทิศตะวันตก  ถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงเมืองฉอด  หงสาวดี  ทวาย  และตะนาวศรี
กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้ครองราชย์สืบต่อกันมาเป็นเวลาราว  ๒๐๐ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๘๐ - พ.ศ. ๑๙๘๑ แต่ในราวปี พ.ศ. ๑๙๘๓ กลุ่มคนไทยทางตอนใต้กรุงสุโขทัยได้สถาปนาอาณาจักรบริเวณลุ่มแน่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างขึ้น โดยมีพระรามาธิบดีที่  (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยา
 
. ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนากรุงสุโขทัย
        ๒.๑.  ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจ ใน พ.ศ. ๑๗๖๒ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗  กษัตริย์ของขอมสิ้นสุดอำนาจการปกครองทำให้อาณาจักรขอมเริ่มอ่อนแอลง ทำให้สุโขทัยสามารถสร้างราชธานีได้สำเร็จ
       ๒.๒.  ความเข้มแข็งของผู้นำ คือพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ตลอดจนความสามัคคีของคนไทยทำให้สามารถ ต่อสู้กับทหารขอมจนกระทั่งได้รับชัยชนะและประกาศตนเป็นอิสระไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของขอมอีกต่อไป
       ๒.๓.  คนไทยมีนิสัยที่รักความมีอิสระ เสรี ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยประจำชาติอย่างหนึ่งของคนไทย เมื่อพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง มีนโยบายที่จะขับไล่พวกขอมจึงได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากคนไทยอย่างพร้อมเพรียง
       ๒.๔. สภาพทำเลที่ตั้งของกรุงสุโขทัยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมทำให้มีความสะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ สามารถติดต่อกับ เมืองอื่น ๆ ได้และไม่ต้องหวั่นเกรงกับการถูกปิดล้อมจากข้าศึก
 ๑.     รายพระนามพระมหากษัตริย์สุโขทัย
ราชวงศ์นำถุม (ราชวงศ์ผาเมือง)
- พ่อขุนศรีนาวนำถุม ครองราชย์ ปีใดไม่ปรากฏ - พ.ศ. ๑๗๒๔ 
ขอมสบาดโขลญลำพง
- ขอมสบาดโขลญลำพง (พ.ศ. ๑๗๒๔ - พ.ศ. ๑๗๘๐
ราชวงศ์พระร่วง
- พ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ.ศ. ๑๗๘๐ - สวรรคตปีใดไม่ปรากฏ(ประมาณพ.ศ. ๑๘๐๑
- พ่อขุนบานเมือง (หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต - พ.ศ. ๑๘๒๒
- พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒ - พ.ศ. ๑๘๔๒) ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า พ่อขุนรามราช
- ปู่ไสสงคราม (รักษาราชการชั่วคราวแทน พญาเลอไท ซึ่งขณะนั้นไม่ได้อยู่ในเมืองสุโขทัย) 
- พญาเลอไท (พ.ศ. ๑๘๔๒ - พ.ศ. ๑๘๓๓
- พญางั่วนำถุม (พ.ศ. ๑๘๓๓ - พ.ศ. ๑๘๙๐
- พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) (พ.ศ. ๑๘๙๐ - พ.ศ. ๑๙๑๓
- พระมหาธรรมราชาที่ ๒ (ลือไท) (พ.ศ. ๑๙๑๓ - พ.ศ. ๑๙๓๑) ตกเป็นประเทศราชของอยุธยาในปี พ.ศ. ๑๙๒๑ 
- พระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท) (พ.ศ. ๑๙๓๑ - พ.ศ. ๑๙๖๒
- พระมหาธรรมราชาที่ ๔ (บรมปาล) (พ.ศ. ๑๙๖๒ - พ.ศ. ๑๙๘๑
- พระยายุทธิษฐิระ (พ.ศ. ๑๙๙๑ - พ.ศ. ๒๐๑๑) (เป็นประเทศราชล้านนาในปี พ.ศ. ๒๐๑๑)  
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๒๐๑๑ - พ.ศ. ๒๐๓๑) สถาปนา และประทับ ณ พิษณุโลก จนสิ้นรัชกาล
- พระเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๓๑ - พ.ศ. ๒๐๓๔) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 
- พระอาทิตยวงศ์ (พระหน่อพุทธางกูร) (พ.ศ. ๒๐๓๔ - พ.ศ. ๒๐๗๒) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 
- พระไชยราชา (พ.ศ. ๒๐๗๒ - พ.ศ. ๒๐๗๗) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา) 
ราชวงศ์สุโขทัย
- พระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) (พ.ศ. ๒๐๗๗ - พ.ศ. ๒๑๑๑) (เจ้าราชธานีฝ่ายเหนือ)
- พระนเรศวร (หลังเสด็จกลับจากหงสาวดี - พ.ศ. ๒๑๒๗) (ตำแหน่งพระมหาอุปราชของอยุธยา)
 
๓. ความรุ่งโรจน์ของกรุงสุโขทัย
             แม้กรุงสุโขทัยจะมีอายุยืนนานถึง ๒๐๐ ปี มีพระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสืบต่อกันมา ๙ รัชกาล แต่สุโขทัยก็มีอิสระเฉพาะ ๑๒๐ ปีแรก ช่วงที่เจริญที่สุดคือ ในสมัยรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังในศิลาจารึก หลักที่ ๑  กล่าวไว้ว่า "กลางเมืองสุโขทัย สร้างป่าหมาก ป่าพลูทั่วทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้"   กลางเมืองสุโขทัยมีตระพังโพย สีใสกินดีดังกินโขงเมื่อแล้ง มีวิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฎฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม มีวิหารอันใหญ่ มีวิหารอันงาม มีเถร มหาเถร.."   ส่วนภายนอกเมืองสุโขทัย ก็มีความเจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกับภายในเมืองสุโขทัย เช่น "มีวิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่น มีฐาน มีบ้านใหญ่ บ้านงาม มีป่าม่วง ป่าขาม  ดูงามดังแกล้ง..."   นอกจากความเป็นอยู่ที่เจริญรุ่งเรืองของสุโขทัย และวัดวาอารามหลวง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว สิ่งที่เป็นความรุ่งโรจน์อีกอย่างหนึ่งคือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นสาธารณะประโยชน์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบชลประทานอันยอดเยี่ยมของสุโขทัยคือ สรีดภงส์ พร้อมกับขุดคลองเชื่อมกับลำคลองธรรมชาติ แล้วนำน้ำไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำนอกเมืองและในเมืองตามวัดวาอาราม รวมทั้งสิ้น ๗ สรีดภงส์
 
๑.ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม
 
 
 
 
 
        ได้ค้นพบเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายอยู่เป็นกลุ่ม กำแพงเมืองเก่าถึง ๓ กลุ่ม รวม ๔๙ เตา คือ ทางด้านทิศเหนือนอกตัวเมือง ข้างกำแพงเมืองทางทิศใต้และทางทิศตะวันออก จนอาจเรียกได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุโขทัยยุคพ่อขุนราม เป็นศูนย์การค้าและการผลิตที่ใหญ่ ในการผลิตถ้วยชามสังคโลก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลาย มีชื่อเสียงมาก ถึงกับเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ เช่น หมู่เกาะบอร์เนียว ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย (ชวา) แม้ประเทศญี่ปุ่น ก็ปรากฏว่ามีเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัย เป็นมรดกตกทอดจนถึงปัจจุบันการขนส่งเครื่องปั้นดินเผาสังคโลกสมัยสุโขทัย ใช้เรือสำเภาบรรทุกไปในทะเล โดยได้ค้นพบเรือสินค้าสมัยสุโขทัย ที่บรรทุกเครื่อง ปั้นดินเผาสังคโลกสุโขทัยไปจมอัปปางลงในท้องทะเลลึกในอ่าวไทยเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังมีการหารายได้เข้าประเทศ โดยการเป็นตัวแทนการค้า โดยรับสินค้าจากจีน เช่น ถ้วยชาม ผ้าไหม และอื่น ๆ เข้ามาขายในประเทศ และประเทศใกล้เคียงอีกด้วย  ในด้านการค้าได้ทรงเปิดศูนย์การค้าประจำเมืองสุโขทัยขึ้น ที่เรียกว่า "ตลาดปสาน"เพื่อชักจูงให้พ่อค้าต่างเมืองทั้งแดนใกล้แดนไกล นำสินค้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยไม่เรียกเก็บค่าภาษีอากร ทำให้มีชาวต่างประเทศสนใจนำสินค้ามาค้าขายที่เมืองสุโขทัย ทำให้ชาวสุโขทัยรู้จักติดต่อกับคนต่างเมืองต่างภาษา รู้จักวัฒนธรรมของเมืองอื่น ดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขายใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า...."
 ๒.ในด้านการปกครอง


สมัยพ่อขุนรามคำแหงนี้ ทรงเป็นแบบอย่างระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันแสดงให้เห็นว่า เมืองไทยได้เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัยแล้ว เป็นประชาธิปไตยแบบที่มีพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเป็นพระประมุขของชาติ หลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกชี้ให้เห็นชัดว่า ในสมัยพ่อขุนรามไม่มีคำว่า"ทาส" แต่จะเรียกเหล่าประชาชน ทั้งหลายว่า "ลูกบ้าน ลูกเมือง" "ฝุ่งท่วย (ทวยราษฎร์)" "ไพร่ฟ้าข้าไท" "ไพร่ฟ้าหน้าปก" "ไพร่ฟ้าหน้าใส" ประชาชนทุกคน มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นในการออกว่าราชการงานเมืองของพ่อขุนรามคำแหง กลางป่าตาลได้อย่างเสรี ไม่แบ่งชั้นวรรณะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"ระบบพ่อปกครองลูก" ดังปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "หัวพุ่ง หัวรบ ก็ดีบ่ฆ่า บ่ตี ในปากปูตมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมืองมีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม..."

การปกครองในแบบพ่อกับลูก นับเป็นคุณธรรมของพ่อเมือง จึงทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ด้วยกรุงสุโขทัย เป็นแคว้นใหญ่ มั่นคง และเข้มแข็ง เป็นที่รับรู้กันในแผ่นดินไทยและชาวต่างประเทศ เช่น จีน และแคว้นอื่น ๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังมีหลักฐานตามเอกสารจีนบันทึกไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ. ๑๘๓๕ ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และปี พ.ศ. ๑๘๖๖ รัชสมัยพระเจ้าเลอไท ไทยได้ส่งทูตติดต่อกับจีนหลายครั้งด้วยกัน โดยได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวาย จักรพรรดิ์จีน รวมทั้งได้เคยขอม้าขาว และของอื่น ๆ จากจีน เป็นการตอบแทนด้วย

 
.  ในด้านพุทธศาสนา
พ่อขุนรามคำแหง ทรงอัญเชิญพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช มาปลูกฝังไว้ที่เมืองสุโขทัย และทรงทำนุบำรุงให้เจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปทั่วทุกภาคของเมืองไทย จนเป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงคิดประดิษฐ์ลายสือไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ทำให้ชนชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็น เอกลักษณ์ของชาติมาจนถึงปัจจุบัน
พุทธศาสนาเข้ามาหล่อหลอมวิถีชีวิต
ชนชาติไทย นิยมเลื่อมใสในพุทธศาสนา (ฝ่ายมหายาน) ผสมผสานกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ มาแต่บรรพกาล จนถึงรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงอัญเชิญศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน หรือฝ่ายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราช จึงเข้ามาสู่อาณาจักรสุโขทัย พระองค์ทรงยึดมั่นในทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง จึงทำให้บรรดาข้าราชการและราษฎร พากันยึดถือเป็นแบบตามพระเจ้าแผ่นดินไปด้วย
ดังปรากฏในศิลาจารึก หลักที่ ๑ กล่าวไว้ว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขไท ทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปั่ว ท่วยนาง ลูกเจ้า ลูกขุน ทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ฝูงท่วยศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน"
พ่อขุนรามคำแหง ฯ ทรงโปรดให้สร้าง พระแท่นหินมนังศิลาบาตร ในป่าตาลขึ้นเป็นแท่นที่ประทับในการเสด็จออกขุนนาง เมื่อว่างจากการออกขุนนาง ก็ให้ใช้เป็น "อาสน์สงฆ์" สำหรับพระภิกษุที่มีภูมิธรรม และมีพรรษาสูงระดับ ปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่ง แสดงธรรมแก่อุบาสก บรรดาชาวเมืองพากันถือศีลในวันพระ
พระยาเลอไท ซึ่งเป็นราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหง ทรงมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างพระราชบิดา ได้นำ แบบอย่างพระพุทธศาสนา " ลัทธิลังกาวงศ์ " มาเผยแพร่เพิ่มเติม เป็นการปลูกฝังแก่ชาวสุโขทัยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาอีกมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน   
๔.การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย
   อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งยังมีอาณาเขตไม่กว้างขวางมีจำนวนพลเมืองยังไม่มากและอยู่ในระหว่างการก่อร่างสร้างตัว การปกครองในระยะแรกจึงยังเป็นการปกครองระบบแบบครอบครัว  ผู้นำของอาณาจักรทำตัวเหมือนบิดาของประชาชน มีฐานะเป็นพ่อขุน  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชน   ต่อมาหลังสมัยพ่อขุนรามคำแหงสถานการณ์ของบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป  จึงเริ่มใช้การปกครองที่เป็นแบบแผนมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนแตกต่างไปจากเดิมความพยายามที่จะเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์ให้สูงทรงมีฐานะเป็นธรรมราชาและทรงใช้หลักธรรมมาเป็นแนวทางในการปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น ๒ ระยะคือ
๑.  สมัยสุโขทัยตอนต้น   เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของ
พ่อขุนรามคำแหง
๒.  สมัยสุโขทัยตอนปลายตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น ( พ.ศ. ๑๗๙๒  -๑๘๔๑ )
              หลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมาแล้วได้พยายามขจัดอิทธิพลของขอมให้หมดไปจึงได้จัดระบบการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบไทย ๆที่ถือว่าประชาชนทุกคนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว คือ พระมหากษัตริย์ได้ปกครองประชาชนในฐานะบิดาปกครองบุตร หรือที่เรียกว่า การปกครองแบบปิตุราชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ
.   รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตย คือพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
.   พระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนเปรียบเสมือนบิดากับบุตร ทำตัวเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว  พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยตอนต้นจึงมีพระนามนำหน้าว่า พ่อขุน
.   ลักษณะการปกครองระบบครอบครัวลดหลั่นกันเป็นชั้น ๆ นอกจากพระมหากษัตริย์ทำตัวเปรียบเสมือนบิดาของราษฎรแล้ว   ยังมีการจัดระบบการปกครอง ดังนี้
-   ให้ครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมตัวกันเป็นบ้าน อยู่ในความดูแลของพ่อบ้าน ผู้อยู่ภายใต้การปกครองเรียกว่า ลูกบ้าน
-    หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง ผู้ปกครองเรียกว่า  ขุน
-    เมืองหลายเมืองรวมกันเป็น อาณาจักร อยู่ในการปกครองของ พ่อขุน 
แสดงให้เห็นว่านอกจากพ่อขุนผู้เป็นประมุขสูงสุดแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่ได้รับมอบหมายจากพ่อขุน  ทำหน้าที่เป็นกลไกในการปกครองด้วย
.   พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และทรงชักชวนให้ประชาชนปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
นอกจากนี้ในสมัยสุโขทัยตอนต้นยังมีการปกครองแบบทหารแอบแฝงอยู่ด้วยเนื่องจากในระยะแรกตั้งสุโขทัยมี  อาณาเขตแคบ ๆ ประชาชนยังมีน้อยดังนั้นทุดคนจึงต้องมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศเท่าๆกันจึงกำหนดว่า  เวลาบ้านเมืองปกติประชาชนต่างทำมาหากินแต่เวลาเกิดศึกสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพ
การปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลาย       (พ.ศ. ๑๘๔๑-๑๙๘๑)
หลังจากที่พ่อชันรามคำแหงสวรรคตในพ.ศ. ๑๘๔๑แล้วอาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสายพระมหากษัตริย์รัชกาลต่อมาเริ่มอ่อนแอ  ไม่สามารถรักษาความมั่นคงของอาณาจักรไว้ได้  เมืองหลายเมืองแยกตัวออกไปเป็นอิสระ
สภาพการเมืองภายในเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติ  รูปแบบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมสลายลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคงเพียงพอ จนกระทั่งสมัยพระยาลิไทย ซึ่งขณะนั้นปกครองอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัยได้ยกกำลังเข้ายึดเมืองสุโขทัยและปราบศัตรูจนราบคาบบ้านเมืองจึงสงบลง   เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ( ลิไทย ) ขึ้นครองราชย์สมบัติในปี ๑๘๙๐ ทรงตระหนักถึงความไม่มั่นคงภายใน  ประกอบกับเวลานั้นกรุงศรีอยุธยาที่ตั้งขึ้นมาใหม่กำลังแผ่ขยายอำนาจจนน่ากลัวจะเกิดอันตรายกับสุโขทัย         
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ( ลิไทย )  ทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารอย่างเดียวนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะอำนาจทางการทหารในสมัยของพระองค์นั้นไม่เข้มแข็งพอ  จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย โดยทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่าง และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาไว้ทั่วไปเพื่อเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนให้เกิดเลื่อมใสศรัทธายึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต สร้างความสามัคคีกลมเกลียวกันในแผ่นดิน
การปกครองที่อาศัยพระพุทธศาสนานี้เรียกว่า การปกครองแบบธรรมราชา  พระมหากษัตริย์จะทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม  การปกครองแบบธรรมราชานี้ถูกนำมาใช้จนประทั่งสิ้นสุดสมัยสุโขทัย
การปกครองแบบกระจายอำนาจ
               เนื่องจากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงอาณาจักรสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการปกครองแบบกระจายอำนาจโดยแบ่งหัวเมืองออกเป็น ชั้น ๆเพื่อกระจายอำนาจในการปกครองออกไปให้ทั่วถึงเมืองต่าง ๆในสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น ๔ ชั้น  แต่ละชั้นพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจในการปกครองดังนี้
๑. เมืองหลวงหรือเมืองราชธานี   อาณาจักรสุโขทัยมีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือเมืองราชธานีมีพระมหากษัตริย์ปกครองเอง  เมืองราชธานี เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนาวัฒนธรรมประเพณี
 ๒. เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน   เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวเมืองชั้นใน  ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง ๔ ทิศ ห่างจากเมืองหลวงมีระยะทางเดินเท้า  ๒ วัน  เมืองลูกหลวงมีดังนี้
                    ทิศเหนือ                  ได้แก่        เมืองศรีสัชนาลัย
                    ทิศตะวันออก            ได้แก่        เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
               ทิศใต้                       ได้แก่        เมืองสระหลวง (เมืองพิจิตรเก่า)
               ทิศตะวันตก              ได้แก่        เมืองนครชุม (กำแพงเพชร)   
 เมืองลูกหลวงมีความสำคัญรองมาจากเมืองหลวง   ผู้ที่ถูกส่งไปปกครองคือเจ้านายเชื้อพระวงษ์
๓. เมืองพระยามหานคร   เป็นหัวเมืองชั้นนอก ห่างจากเมืองราชธานีออกไปมากกว่าเมืองลูกหลวง  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งขุนนางชั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่เหมาะสมและมีความสามารถไปปกครองดูแลเมืองเหล่านี้โดยขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีวิธีการปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองชั้นใน เมืองพระยามหานครในสมัยสุโขทัย  เช่น เมืองพระบาง(นครสวรรค์)  เมืองเชียงทอง (อยู่ในเขตจังหวัดตาก) เมืองบางพาน (อยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร)  เป็นต้น
๔. เมืองประเทศราช   ได้แก่เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นชาวต่างชาติต่างภาษาพระมหากษัตริย์ทรงดำเนินนโยบายในการปกครองคือให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปกครองภายใน  ยกเว้นกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยามปกติเมืองประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์สุโขทัยทุก ๓ ปี  ยามสงครามต้องส่งกองทัพและเสบียงอาหารมาช่วย  สมัยพ่อขุนรามคำแหงมีเมืองประเทศราชหลายเมืองดังต่อไปนี้คือ
ทิศเหนือ                               ได้แก่         เมืองแพร่ เมืองน่าน
       ทิศตะวันตก                           ได้แก่         เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
       ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ            ได้แก่          เมืองเซ่า (หลวงพระบาง)  เมืองเวียงจันทน์
       ทิศใต้                                     ได้แก่          เมืองนครศรีธรรมราช  เมืองมะละกา เมืองยะโฮร์
๕. พัฒนาการด้านเศรษฐกิจของไทยในสมัยสุโขทัย  
 
   
   จากหลักฐานศิลาจารึกหลักที่๑ ทำให้เราทราบว่า เศรษฐกิจในสมัยสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือง  ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี  บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์
          ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้สุโขทัยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้  มีหลายประเภทดังนี้
          ภูมิประเทศ สุโขทัยตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และจับสัตว์น้ำ
          ทรัพยากรธรรมราช สุโขทัยมีพืชพรรณธรรมชาติต่าง ๆ อย่างอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง ๆ
          ความสามารถของผู้นำ กษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ปกครองกรุงสุโขทัยทรงมีพระปรีชาสามารถในการคิดริเริ่ม  และดัดแปลงสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของราษฎร  เช่น  สร้างทำนบกั้นน้ำไว้เพื่อเก็บกักน้ำที่เรียกว่า ทำนบพระร่วง ส่งน้ำไปตามคูคลองสู่คูเมืองเพื่อระบายน้ำสู่พื้นที่เกษตรกรรม  จึงทำให้ประชาชนมีน้ำใช้สอยอย่างเพียงพอ
             พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจของสุโขทัยขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของประชาชน ๓ อาชีพ ได้แก่  เกษตรกรรม  หัตถกรรม  และค้าขาย
๑.  เกษตรกรรม
               สังคมสุโขทัยเป็นสังคมเกษตรกรรม  อาชีพหลักของประชาชน  คือ  การเพาะปลูก  และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกจะมีทั้งการทำนาทำไร่ และทำสวนพืชที่ปลูกกันมาเช่น  ข้าว  มะม่วง  หมากพลู  เป็นต้น  บริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกได้แก่  ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน    เนื่องจากสภาพทางธรรมราชของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าวนี้ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก  เพราะมีน้ำน้อยในหน้าแล้ง  และเมื่อถึงฤดูน้ำจะมีน้ำปริมาณมากไหลบ่ามาท่วมขังเป็นเวลานาน  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่อุดมสมบูรณ์  ดังนั้น  สุโขทัยจึงรู้จักการสร้างที่เก็บกักน้ำ  แล้วต่อท่อน้ำจากคูเมืองไปสู่สระต่าง ๆ เพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่เกษตรกรรม  ทำให้สามารถผลิตผลผลิตได้อุดมสมบูรณ์
 ๒.  หัตถกรรม
            หัตถกรรมที่สำคัญของสุโขทัยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องสังคโลกหรือเครื่องปั้นดินเผา  เครื่องสังคโลกของสุโขทัยที่ผลิตได้ คือ จาน ชาม และถ้วยต่างๆ นอกจากนั้นยังนิยมผลิตเครื่องสังคโลกในรูปแบบต่างๆตามความต้องการของผู้ซื้อเช่น แจกัน เหยือก โถน้ำ โอ่ง ไห เป็นต้น
            จากหลักฐานการขุดพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลก  หรือเตาทุเรียงเป็นจำนวนมาก  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า แหล่งที่ผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมีอยู่ 2 แห่ง คือ กรุงสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย และจากการพบซากเตาเผาเครื่องสังคโลกขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ทำให้สันนิษฐานได้ว่าเครื่องสังคโลกของสุโขทัยน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากดินแดนต่าง ๆ ในสมัยนั้น
           ๓.  การค้าขาย
 การค้าขายในสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี  ทุกคนมีอิสระในการค้าขาย  รัฐไม่จำกัดชนิดสินค้าและไม่เก็บภาษีผ่านด่านที่เรียกว่าจกอบ(จังกอบ) ผู้ใดอยากค้าขายอะไรก็ไม่มีการห้าม มีการค้าสัตว์ชนิดต่าง ๆเช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น  ตลอดจนการค้าขายแร่เงินและแร่ทอง
            นอกจากจะมีการค้าขายภายในราชอาณาจักรแล้วยังมีการค้าขายและแลกเปลี่ยนสินค้ากับอาณาจักรต่างๆที่อยู่ภายนอกอาณาจักรสุโขทัยอีกด้วยเช่นเมืองหงสาวดี ตะนาวศรี ล้านนา กัมพูชา มะละกา ชวา และจีน เป็นต้น  สินค้าออกที่สำคัญได้แก่  เครื่องสังคโลก  พริกไทย  น้ำตาล  งาช้าง  หนังสัตว์  นอแรด  เป็นต้น  ส่วนสินค้าส่วนใหญ่เป็นพวกผ้าไหม  ผ้าทอ  อัญมณี  เป็นต้น